สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ภาไทย ป. 5

เรียนรู้อะไรในภาษาไทย
 ภาษาไทยเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  และเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง
·       การอ่าน  การอ่านออกเสียงคำ  ประโยค   การอ่านบทร้อยแก้ว   คำประพันธ์ชนิดต่างๆ   การอ่านในใจเพื่อสร้างความเข้าใจ  และการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้จากสิ่งที่อ่าน   เพื่อนำไป ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
·       การเขียน  การเขียนสะกดตามอักขรวิธี   การเขียนสื่อสาร โดยใช้ถ้อยคำและรูปแบบต่างๆ ของการเขียน  ซึ่งรวมถึงการเขียนเรียงความ  ย่อความ  รายงานชนิดต่างๆ การเขียนตามจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์  และเขียนเชิงสร้างสรรค์
·       การฟัง การดู และการพูด  การฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ  การพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึก   พูดลำดับเรื่องราวต่างๆ   อย่างเป็นเหตุเป็นผล   การพูดในโอกาสต่างๆ  ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ  และการพูดเพื่อโน้มน้าวใจ
·       หลักการใช้ภาษาไทย  ธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของภาษาไทย  การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมกับโอกาสและบุคคล  การแต่งบทประพันธ์ประเภทต่างๆ และอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
·       วรรณคดีและวรรณกรรม      วิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อศึกษาข้อมูล แนวความคิด คุณค่าของงานประพันธ์  และความเพลิดเพลิน  การเรียนรู้และทำความเข้าใจบทเห่  บทร้องเล่นของเด็ก เพลงพื้นบ้านที่เป็นภูมิปัญญาที่มีคุณค่าของไทย   ซึ่งได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด  ค่านิยม  ขนบธรรมเนียมประเพณี   เรื่องราวของสังคมในอดีต   และความงดงามของภาษา   เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งและภูมิใจ      ในบรรพบุรุษที่ได้สั่งสมสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑    การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑.        ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน    

สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.            ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ                 

สาระที่ ๓    การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท ๓.        สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์

สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน  ท ๔.       เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ                             

สาระที่ ๕    วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน  ท ๕.       เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

             คุณภาพผู้เรียน

                จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
·       อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง ข้อความ  เรื่องสั้นๆ  และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ถูกต้องคล่องแคล่ว  เข้าใจความหมายของคำและข้อความที่อ่าน  ตั้งคำถามเชิงเหตุผล  ลำดับเหตุการณ์  คาดคะเนเหตุการณ์   สรุปความรู้ข้อคิดจากเรื่องที่อ่าน  ปฏิบัติตามคำสั่ง  คำอธิบายจากเรื่องที่อ่านได้   เข้าใจความหมายของข้อมูลจากแผนภาพ   แผนที่  และแผนภูมิ    อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ   และ     มีมารยาทในการอ่าน
·       มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด  เขียนบรรยาย  บันทึกประจำวัน  เขียนจดหมายลาครู   เขียนเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์  เขียนเรื่องตามจินตนาการและมีมารยาทในการเขียน
·       เล่ารายละเอียดและบอกสาระสำคัญ   ตั้งคำถาม   ตอบคำถาม   รวมทั้งพูดแสดงความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  พูดสื่อสารเล่าประสบการณ์และพูดแนะนำ   หรือพูดเชิญชวนให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม  และมีมารยาทในการฟัง  ดู  และพูด
·       สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ   ความแตกต่างของคำและพยางค์   หน้าที่ของคำ  ในประโยค   มีทักษะการใช้พจนานุกรมในการค้นหาความหมายของคำ   แต่งประโยคง่ายๆ   แต่ง     คำคล้องจอง  แต่งคำขวัญ  และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ
·       เข้าใจและสามารถสรุปข้อคิดที่ได้จากการอ่านวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีที่อ่าน รู้จักเพลงพื้นบ้าน  เพลงกล่อมเด็ก   ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่น  ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น ท่องจำบทอาขยานและบทร้อยกรอง ที่มีคุณค่าตามความสนใจได้
                จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
·       อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง   อธิบายความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัยของคำ  ประโยค  ข้อความ  สำนวนโวหาร  จากเรื่องที่อ่าน   เข้าใจคำแนะนำ  คำอธิบายในคู่มือต่างๆ  แยกแยะข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง    รวมทั้งจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านและนำความรู้ความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้          มีมารยาทและมีนิสัยรักการอ่าน   และเห็นคุณค่าสิ่งที่อ่าน
·       มีทักษะในการคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด   เขียนสะกดคำ  แต่งประโยคและเขียนข้อความ   ตลอดจนเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนเหมาะสม   ใช้แผนภาพ  โครงเรื่องและแผนภาพความคิด  เพื่อพัฒนางานเขียน  เขียนเรียงความ  ย่อความ  จดหมายส่วนตัว  กรอกแบบรายการต่างๆ   เขียนแสดงความรู้สึกและความคิดเห็น  เขียนเรื่องตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์  และมีมารยาทในการเขียน
·       พูดแสดงความรู้ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เล่าเรื่องย่อหรือสรุปจากเรื่องที่ฟังและดู    ตั้งคำถาม  ตอบคำถามจากเรื่องที่ฟังและดู  รวมทั้งประเมินความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูโฆษณาอย่างมีเหตุผล  พูดตามลำดับขั้นตอนเรื่องต่างๆ  อย่างชัดเจน  พูดรายงานหรือประเด็นค้นคว้าจาก     การฟัง  การดู  การสนทนา  และพูดโน้มน้าวได้อย่างมีเหตุผล  รวมทั้งมีมารยาทในการดูและพูด
·       สะกดคำและเข้าใจความหมายของคำ  สำนวน  คำพังเพยและสุภาษิต   รู้และเข้าใจ      ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค   ชนิดของประโยค     และคำภาษาต่างประเทศในภาษาไทย   ใช้   คำราชาศัพท์และคำสุภาพได้อย่างเหมาะสม   แต่งประโยค   แต่งบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่     กลอนสุภาพ และกาพย์ยานี ๑๑
·       เข้าใจและเห็นคุณค่าวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  เล่านิทานพื้นบ้าน  ร้องเพลงพื้นบ้านของท้องถิ่น  นำข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่านไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  และท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดได้

ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

สาระที่ ๑    การอ่าน

มาตรฐาน  ท ๑.        ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน  


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑

. อ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ
. บอกความหมายของคำ และข้อความที่อ่าน
˜ การอ่านออกเสียงและบอกความหมายของคำ คำคล้องจอง   และข้อความที่ประกอบด้วย    คำพื้นฐาน  คือ คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน        ไม่น้อยกว่า ๖๐๐ คำ  รวมทั้งคำที่ใช้เรียนรู้ใน  กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ประกอบด้วย
- คำที่มีรูปวรรณยุกต์และไม่มีรูปวรรณยุกต์
- คำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา
- คำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ  
- คำที่มีอักษรนำ

. ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
. เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน
. คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เช่น
    - นิทาน
    - เรื่องสั้นๆ
    - บทร้องเล่นและบทเพลง
    - เรื่องราวจากบทเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น

๖. อ่านหนังสือตามความสนใจ          อย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน
˜ การอ่านหนังสือตามความสนใจ เช่น
    - หนังสือที่นักเรียนสนใจและเหมาะสมกับวัย
    - หนังสือที่ครูและนักเรียนกำหนดร่วมกัน 

. บอกความหมายของเครื่องหมาย  หรือสัญลักษณ์สำคัญที่มักพบเห็นในชีวิตประจำวัน
˜ การอ่านเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ ประกอบด้วย
    - เครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
    - เครื่องหมายแสดงความปลอดภัยและแสดงอันตราย

๘. มีมารยาท ในการอ่าน
˜ มารยาทในการอ่าน  เช่น
    - ไม่อ่านเสียงดังรบกวนผู้อื่น
    - ไม่เล่นกันขณะที่อ่านและไม่ทำลายหนังสือ

  สาระที่ ๒    การเขียน

มาตรฐาน ท ๒.            ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่าง   มีประสิทธิภาพ     

          


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด
˜ การคัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทย

. เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่ายๆ

˜ การเขียนสื่อสาร
- คำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- คำพื้นฐานในบทเรียน 
  - คำคล้องจอง
- ประโยคง่ายๆ

๓. มีมารยาทในการเขียน
˜ มารยาทในการเขียน เช่น
- เขียนให้อ่านง่าย สะอาด ไม่ขีดฆ่า
- ไม่ขีดเขียนในที่สาธารณะ
- ใช้ภาษาเขียนเหมาะสมกับเวลา สถานที่ และบุคคล

 

สาระที่ ๓    การฟัง การดู และการพูด

มาตรฐาน ท ๓.        สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณ และพูดแสดงความรู้ ความคิด และ    ความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
. ฟังคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆ และปฏิบัติตาม
˜ การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ คำสั่งง่ายๆ

. ตอบคำถามและเล่าเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง
. พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู
˜ การจับใจความและพูดแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู ทั้งที่เป็นความรู้และความบันเทิง เช่น
- เรื่องเล่าและสารคดีสำหรับเด็ก
- นิทาน
-  การ์ตูน
-  เรื่องขบขัน

. พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์

˜ การพูดสื่อสารในชีวิตประจำวัน เช่น
- การแนะนำตนเอง
- การขอความช่วยเหลือ
- การกล่าวคำขอบคุณ
- การกล่าวคำขอโทษ 

. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
˜  มารยาทในการฟัง เช่น
- ตั้งใจฟัง ตามองผู้พูด
- ไม่รบกวนผู้อื่นขณะที่ฟัง
- ไม่ควรนำอาหารหรือเครื่องดื่มไปรับประทานขณะที่ฟัง
- ให้เกียรติผู้พูดด้วยการปรบมือ
- ไม่พูดสอดแทรกขณะที่ฟัง
˜  มารยาทในการดู เช่น
- ตั้งใจดู
- ไม่ส่งเสียงดังหรือแสดงอาการรบกวนสมาธิของผู้อื่น
˜  มารยาทในการพูด เช่น  
- ใช้ถ้อยคำและกิริยาที่สุภาพ เหมาะสมกับกาลเทศะ
- ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล
- ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่ผู้อื่นกำลังพูด


สาระที่ ๔    หลักการใช้ภาษาไทย

มาตรฐาน  ท ๔. เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษา  และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
๑. บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์ และเลขไทย
˜ พยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์
˜ เลขไทย

๒. เขียนสะกดคำและบอกความหมาย ของคำ
   
˜ การสะกดคำ การแจกลูก และการอ่านเป็นคำ
˜ มาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตราและไม่ตรงตามมาตรา 
˜ การผันคำ
˜ ความหมายของคำ

สาระที่ ๕    วรรณคดีและวรรณกรรม

มาตรฐาน  ท ๕.       เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

                               


ชั้น
ตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
ป.๑
. บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก

˜ วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็ก เช่น
- นิทาน
- เรื่องสั้นง่ายๆ
- ปริศนาคำทาย
- บทร้องเล่น
- บทอาขยาน
- บทร้อยกรอง
- วรรณคดีและวรรณกรรมในบทเรียน

. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด  และบทร้อยกรองตามความสนใจ
˜ บทอาขยานและบทร้อยกรอง
- บทอาขยานตามที่กำหนด
- บทร้อยกรองตามความสนใจ